>>>> และอันเนื่องด้วยกระแสข่าวการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง 21 แฟ้ม ที่ สปสช.และ สนย. กำหนดให้ใช้เป็นเวอร์ชั่น 5 ซึ่งต้องเริ่มใช้ใน ก.ค. 2555 (และคงจะเปลี่ยนไปเรื่อยทุกปี) วันนี้จึงขอมานั่งเขียนวิธีการแบบรวบรัดละกันครับ
ส่วนการเขียนคำสั่ง MySQL มันคืออะไร ดียังไง มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้างไว้ผมจะเขียนในบทความหน้านะครับ (เฮือกๆ ออกแนวขี้เกียจซะงั้น)
เอาละครับ เรามาเริ่มกันเลย ....
โปรแกรมสำหรับเขียนคำสั่ง MySQL นั้นก้อพอมีอยู่ครับ แต่ถ้าต้องคอยโหลดและติดตั้งกันก่อนก็ไม่ใช่คำว่ารวบรัด บทความนี้จึงจะสอนการใช้งานบนโปรแกรม MySQL Query Browser ซึ่งมีอยู่แล้วในเครื่องที่ติดตั้งโปรแกรม JHCIS (จะว่าจะเป็นเครื่อง Server หรือ client)
เริ่มจากเปิดโปรแกรม MySQL Query Browser ซึ่งอยู่ที่ Start > Programe > MySQL-JHCIS > MySQL Query Browser
คลิกที่ภาพดูขนาดใหญ่ขึ้น
เลือก Stored Connection เป็น JHCIS Backup (ตัวเดียวกันที่ท่านเคยใช้สำรองฐานข้อมูล) ชื่ออาจจะไม่เหมือนผมนะครับ อยู่ที่ท่านตั้งชื่อครั้งแรก จากนั้นก้อคลิก OK
คลิกที่ภาพดูขนาดใหญ่ขึ้น
คลิกที่ Ignore ครับ
คลิกที่ภาพดูขนาดใหญ่ขึ้น
ดับเบิลคลิกที่ฐานข้อมูล jhcisdb จนเห็นว่า ตารางต่างๆ (ด้านล่างชื่อฐานข้อมูล) แสดงออกมาแล้ว (เพราะเราต้องการทำงานกับฐานข้อมูลนี้)
ส่วนของพื่นที่เขียนคำสั่งให้เรา เขียนคำสั่งลงไป หรือจะ Copy ไป Paste เอาก้อได้ คำสั่งที่นำไปวาง เราต้องรู้ว่าเป็นคำสั่งอะไร และต้องมั่นใจว่าไม่ทำให้ข้อมูลในฐานข้อมูลของเราเสียหาย
ยกตัวอย่างเช่น
SELECT * FROM person ;
คือให้แสดงรายละเอียดทั้งหมด (ทุกฟิว) ในตาราง person
เขียนเสร็จก้อคลิกที่สัญลักษณ์สีเขียวรูปสายฟ้าฟาด
คลิกที่ภาพดูขนาดใหญ่ขึ้น
โปรแกรมจะแสดงผลลัพธ์ออกมาก (หากเขียนคำสั่งถูกต้อง)
คำสั่งต่างๆ ท่านสามารถค้นหาได้ที่ Facebook เพจ สสอ.รามัน หรือจะหาตาม social network ของชาวสาสุขต่างๆ ได้ หรือถ้าหาไม่ได้ก็ลองสอบถามเจ้าหน้าที่ IT ของ สสอ.รามัน เราเอานะครับ (ส่วนจะได้หรือไม่ได้ก็อีกเรื่องหนึ่ง 555)
มีข้อสงสัย ซักถามได้ใน กลุ่ม Facebook นะค้าบ
kayee68@facebook.com